sdadad

ทำดีกับผงพิเศษที่ลำปาง EP.2

ได้ทำดี ได้บุญมาเยอะเลยล่ะค่ะ “ทำดีกับผงพิเศษที่ลำปาง” ก็เป็นโครงการที่ดีโครงการหนึ่งนะคะ ที่ช่วยให้ทางวัดและคนในหมู่บ้าน ได้มีสถานที่ทำบุญ และสามารถจัดงานบุญที่วัดได้สะดวกขึ้นค่ะ ไหนๆ ก็มาเที่ยวแถวนี้ละ ก่อนกลับมายจะแวะเที่ยวที่ลำปาง ยังไงเพื่อนๆ ไปเที่ยวพร้อมๆ กันกับมายเลยนะคะ ㋡

After I attended Let’s Do Good Activity with Pises Powder, the ceremony to celebrate a newly renovated pavilion and also a new temple’s sign. Before going home, I will take you to go sightseeing in Lampang province ღ

ที่แรกที่มายจะไปนะคะ นี่เลย พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี ชามกาไก่ หรือ ชามตราไก่ ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองลำปางมาช้านานเลยค่ะ และถ้าจะมาดูมาช้อป ชามตราไก่ของแท้ ต้องมาที่นี่เลยค่ะ

DSC01927-1ซึ่งที่นี่จะรวบรวมเรื่องราวต้นกำเนิดชามตราไก่ในจังหวัดลำปาง นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ “มีชีวิต” ค่ะ เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของชามตราไก่แล้ว ภายในพิพิธภัณฑ์ยังเป็นโรงงานผลิตถ้วยชาม ทำให้เราได้เห็นถึงขั้นตอนการผลิตชามตราไก่ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ภายในโรงงานอีกด้วยค่ะ ٩(●̮̮̃•̃)۶

DSC02074-2

สำหรับพิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดีนี้นะคะ เพิ่งเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้เมื่อปี 2555 ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาเกียรติประวัติของนายอี้ (ซิมหยู) แซ่ฉิน หรือ อาปาอี้ ผู้ก่อตั้งโรงงานเซรามิคแห่งแรกของจังหวัดลำปาง และเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับชามตราไก่ รวมถึงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดลำปางด้วยเช่นกันค่ะ ღ

DSC01967

แน่นอนว่าชามตราไก่ ได้ชื่อมาจากลวดลายที่วาดบนถ้วยชามเป็นรูปไก่ตัวโต มีหงอนและขนหางสวยงาม วาดด้วยมือโดยใช้พู่กันและสีเคลือบ โดยที่โรงงานธนบดีก็ยังคงอนุรักษ์รูปแบบของชามไก่ไว้ให้เหมือนต้นฉบับชามไก่โบราณ โดยวาดเป็นรูปไก่มีขนคอและลำตัวสีส้ม หางและขาสีดำ เดินอยู่บนหญ้าสีเขียว มีดอกเบญจมาศสีชมพูอมม่วง ใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านซ้าย มีต้นกล้วย 1 ต้น สีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านขวา บางใบจะมีค้างคาวห้อยหัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับไก่ มีดอกไม้ใบไม้เล็กๆ แต้มก้นชามด้านในเป็นรูปดอกจิกด้วยค่ะ

153

ได้รู้เรื่องราวของชามตราไก่กันไปแล้ว คราวนี้มาดูของพิเศษในพิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดีกันบ้างนะคะ ที่นี่มีชามไก่ที่เล็กที่สุดในโลก โดยเล็กกว่าเมล็ดข้าวเปลือกเสียอีก ชามไก่นี้เก็บรักษาไว้ในตู้กระจกทรงสามเหลี่ยม หากอยากเห็นชัดๆ ต้องมองผ่านกระจกขยายจึงจะเห็นลวดลายของตัวไก่ ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีชามไก่ทองคำ ที่ทำด้วยทองคำแท้ 100% ด้วยค่ะ ด้านในชามเป็นทองคำเงางาม ส่วนด้านนอกใช้น้ำทองวาดเป็นไก่ทองคำบนพื้นสีขาว กลายเป็นชามตราไก่งดงามเลอค่า มีให้ชมที่นี่ที่เดียวค่ะ

DSC01992-2

ระหว่างเดินชมพิพิธภัณฑ์ เราจะได้เห็นพนักงานในโรงงานกำลังนั่งทำงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาด้วยวิธีแบบโบราณไปพร้อมๆ กัน ตั้งแต่การนำดินที่นวดแล้วมาวางในพิมพ์ แล้วใช้มือหมุนแป้นวงล้อเพื่อขึ้นรูป ตกแต่งและตัดขอบชามส่วนเกิน และอีกหลายขั้นตอนกว่าจะออกมาเป็นชามหนึ่งใบพร้อมเข้าเตาเผา อีกทั้งยังมีการสาธิตการปั้นชามไก่แบบปัจจุบันที่ใช้เครื่องจักรมาช่วยทุ่นแรง นอกจากนั้นก็ยังจะได้ชมการวาดลวดลายไก่แต่ละตัวลงบนถ้วยชามอีกด้วยค่ะ

DSC02072-1

และที่สำคัญ ยังจะได้ชม “เตามังกร” เตาเผาถ้วยชามเซรามิคแบบโบราณที่อาปาอี้สร้างขึ้นเองตั้งแต่ปี 2508 โดยใช้ประสบการณ์และความรู้ในการสร้างเตาเผาและการทำเซรามิคมาจากประเทศจีน เตาโบราณนี้มีอยู่ 2 เตาด้วยกัน ทำขึ้นจากดินจอมปลวก เผาชามไก่ได้ถึง 5,000-8,000 ใบต่อเตาเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้วล่ะค่ะ และกำลังขอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากร เนื่องจากเป็นเตาเผาโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดลำปาง

DSC02160-1

ที่ “พิพิธภัณฑ์เซรามิคธนบดี” นี้ นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับชามตราไก่ และถ้วยชามเซรามิคของลำปางได้เป็นอย่างดีเลยนะคะ ถ้าใครมีโอกาสมาเยือนลำปาง ขอแนะนำว่าต้องห้ามพลาดมาลองชมกันค่ะ ღ

155

After I attended Let’s Do Good Activity with Pises Powder, the ceremony to celebrate a newly renovated pavilion and also a new temple’s sign. Before going home, I will take you to go sightseeing in Lampang province {{{(>_<)}}}

First, I am going to visit Dhanabadee Ceramic Museum – A ceramic museum that makes chicken bowls. This museum is worth visiting because not only you will know about the history of chicken bowl but also you can buy very beautiful chicken bowls as a souvenir back home.

Originally from the Canton region in China, a chicken bowl (koey oua) holds rice soup or noodles. In the early 20th century, Chinese immigrants came to Thailand in larger numbers, and during the Sino-Japanese war the imported chicken bowls came in short supply. Chicken bowls started being produced in Lampang in 1937, and were fired using a Dragon Kiln. The story begins with the man that started making chicken bowls. Meet Mr E. (Chin Simyu), who in 1954 discovered the kaolinte deposits in Lampang that make up the bowls today ٩(͡๏̯͡๏)۶

The next main phase of the museum shows how they’re produced, both in the traditional way and the modern way. Making the bowls the traditional way – they’re all the same size, spun by hand, and start with a pre-measured amount of clay. Not pictured is a machine-spun ball of clay with a handle that came down to press the bowl into the right shape. Hand-painting is just one step of the process. Now that we’ve seen how they’re made, the room next to the kiln is a showroom of modern chicken bowls.

DSC02230-1

YouTube Preview Image

This is perhaps one of the best reasons to come to Lampang. Hope you guys enjoy. There are so many interesting places that I would like to visit. Let’ s go!!

Big Hugs 【ツ】

:¨·.·¨:
`·.. PSPD

This entry was posted in What We Love. Bookmark the permalink.

Leave a Reply